top of page

พระธาตุดินแดง

จากแรงบันดาลใจสู่แรงสามัคคีธรรม

๑. ความเปนมา

เมื่อตนเดือนเมษายนปพุทธศักราช ๒๕๕๘ คณะญาติธรรมประกอบดวย อาจารยรุงปญญา ตั้งธนาปญญา, นายคุณเอก ตัณฑเกษม, คุณเสาวภาคย ถนอมศักดิ์กุล, คุณธัญณัชญ อิ่มสุขสมวงษ, คุณเสริมศรี ธีระดากร, คุณวรัญญา ศิริชาติวาป และคุณปยคเณศร วรรณพรภักดี ไดเดินทางมาทําบุญถวายภัตตาหารเพลสามเณรภาคฤดูรอนในโครงการปลูกตนกลาในนาบุญ รุนที่ ๓ ณ วัดปาธรรมอุทยาน

หลังจากทําบุญเสร็จแลว คณะญาติธรรมไดเดินทางชมบรรยากาศภายในวัดและศึกษาดูงานกอสรางอุโบสถพุทธชยันตี พรอมทั้งรับฟงแนวทางการพัฒนาวัดปาใหเปนสถานที่ปฏิบัติธรรม อีกหนึ่งของภาคอีสาน จนกระทั่งชวงหนึ่งของการสนทนาธรรม ทานพระมหาอาย ธีรปญโญ ไดเลาประวัติชีวิตพระสารีบุตรในชวงวาระสุดทายที่ทานกลับไปโปรดโยมมารดาในหองที่ทานเกิด ของหมูบานนาลันทคาม พอเลาจบทุกคนมีความซาบซึ้งในปฏิปทาของพระสารีบุตรมาก บางคนถึงกลับนําตาอาบแกม ทานพระมหาอาย ก็เลยเลาตอมา

“โยมเห็นแผนดินวางเปลาอยูฝงตรงขามกับหลังอุโบสถโนนมั๊ย? อาตมามีปณิธานอยากจะสรางพระธาตุ รูปทรงคลายกับเจดียพระสารีบุตรที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ถึงแมเจดียนาลันทาจะถูกทําลายไมหลงเหลือรูปทรงแลวก็ตาม เพราะสวนตัวอาตมาเองก็มีความเคารพและซาบซึ้งในปฏิปทากตัญญูกตเวทีธรรมพระสารีบุตรมาก ถึงกับตองทําเปนวิทยานิพนธตอนศึกษาอนุปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเดลี-อินเดีย หากอาตมายังมีบุญอยูยังมีลมหายใจอยู ก็อยากสรางเจดียนอยๆ รูปทรงแบบนี้เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจาและระลึกถึงคุณสติปญญาของพระสารีบุตรใหถึงที่สุด แตไมรูวาชาตินี้จะมีโอกาสทําไดหรือเปลานะ”

ดวยธรรมสากัจฉาสั้นๆ แบบจับจิตจดใจหลังอุโบสถพุทธชยันตีจบแลว ทุกคนก็เลยเดินไปดูสถานที่แหงนั้น ทานอาจารยรุงปญญาก็เลยชักชวนญาติธรรมและแจงเจตนาปรารภกับพระมหาอายวา

“โยมและคณะที่เดินทางมาตักบาตรลูกเณรกลุมนี้ จะขอรับเปนภาระเบื้องตนในการพิจารณาหาทางหาทุนสรางพระธาตุดินแดงถวายไวในพระพุทธศาสนาใหไดขอรับ”

 

จากนั้นคําวา “ปญญาภาคี” จึงเริ่มกอรางตั้งตัวเปนกลุมบุญนอยใหญดั่งแมน้ำสายเล็กๆ ขยายไปสูหวงนํ้ำศรัทธาสายใหญแลวไหลมารวมกัน ฉะนั้นจึงเปนเหตุใหเกิดโครงการกอสราง “พระธาตุดินแดง” ชื่อนี้ไดมาก็เพราะอาศัยแผนดินเดิมแหงนี้ชื่อ “โคกดินแดง” บรมธาตุสถานแหงนี้ขุดลึกลงไปในแผนดินชี้สูงขึ้นไปบนแผนฟา ยอมมีนาคเทวดานาคราชคอยปกปองคุมครองรักษาอยู ผูมีบุญญาธิการผูมีวาสนาสั่งสมรวมกันไวดีแลว ถึงคราวถึงเวลาก็จักมาหลอมรวมกันสรางธาตุสถานอันศักดิ์สิทธิ์ใหเปนศาสนาคารสาธารณสมบัติคูแผนดินไทยบานพุทธเมืองสยามตราบนิรันดร

๒. แรงบันดาลใจกับวัตถุประสงค

จังหวัดมหาสารคามเปนจังหวัดทางภาคอีสานที่มีพุทธสถาปตยกรรมสําคัญประจําเมือง คือ พระธาตุนาดูน องคพระธาตุเปนศิลปสถาปตยกรรมในยุคสมัยทวารวดี ซึ่งเปนชวงเวลาที่เริ่มกอรางสรางชุมชนที่มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานเปนปฐมในดินแดนที่เรียกวาประเทศไทยในปจจุบัน   โดยออกแบบกอสรางจากเคารูปทางศิลปกรรมสมัยทวารวดีเปนสําคัญ ซึ่งศิลปกรรรมสมัยทวารวดี นั้นจะแตกตางจากสมัยปจจุบัน โดยเนนที่ลวดลายที่มีลักษณะเปนพันธุพฤกษา ยังไมเปนยอดลาย แหลมๆ แบบกนกอยางที่ปรากฏในสมัยหลัง

 

ฉะนั้นพุทธสถาปตยกรรมพระธาตุดินแดงที่จะปรากฏ จึงไดสะทอนถึงสาระสําคัญแหงการกอตั้งวัดปาธรรมอุทยานแหงนี้  ซึ่งการสื่อความหมายของการประกาศหลักธรรมนั้น แสดงอยางชัดเจนดวยองคพระพุทธรูปในปางดวงตาเห็นธรรม พันธกิจของวัดเปนไปเพื่อสรางความสวางทางปญญาใหแกพุทธศาสนิกชนอยางกวางขวาง  วัตถุประสงคหลักของการจัดสรางพระธาตุดินแดงก็เพื่อนอมถวายเปนอนุสรณมิ่งมงคล แหงพุทธสถาปตยกรรมอารยธรรมอีสาน เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ไดอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เพื่อฉลองวาระมงคลแหงการสถาปนาครบ ๑๕๐ ป ของจังหวัดมหาสารคาม ปพุทธศักราช ๒๕๕๘ และเพื่อเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ป ในปพุทธศักราช ๒๕๕๙ การสรางพระธาตุหรือเจดียนั้น ถือเปนบุญสถานแดน ศักดิ์สิทธิ์ ดังคําที่ผูรูบันทึกวา

“ประเพณีการสรางเจดียนี้ ถือเปนความชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทยที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีไทยสูลูกหลานชั่วกัลป เปนมรดกตกทอดสืบเนื่องไปเปนพันๆ ป เจดียแสดงถึงความเปนไทย เปนปูชนียสถานเปนมิ่งขวัญคูบานคูเมือง เปนที่กราบไหวบูชาของพุทธมามกะ บงบอกถึงความรุงเรืองแหงพระพุทธศาสนาและจิตใจของคนไทย” 

๓. แนวคิดและลักษณะสถาปตยกรรม

มหาสารคามถือวาเปนผืนแผนดินอารยธรรมของประเทศไทย ๓ ประการ คือ

๑. เปนพุทธมณฑลแหงอารยธรรมอีสาน

๒. เปนตักสิลานครแหงอารยธรรมอีสาน

๓. เปนสะดือแหงอารยธรรมอีสาน 

พระธาตุเจดียถือเปนสัญลักษณทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยมาอยางยาวนาน นับตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน คนโบราณเมื่อวางภารกิจงาน ก็จะพากันสรางวัด สรางพระธาตุเจดีย เพื่อใหเปนศูนยรวมความสามัคคีและความดีงามของพุทธบริษัท พระธาตุเจดียนั้นถือวา “เปนสิ่งกอสรางที่เคารพบูชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา” เมื่อเหตุเชนนี้คณะกรรมการกอสรางพระธาตุดินแดง จึงไดวางกรอบแนวความคิดเพื่อเปนหมุดหมายของการทํางานวา “รอยศรัทธา สรางพระธาตุดินแดงถวายเปนพุทธบูชา เสมือนหนึ่งรวมปญญาสรางพุทธสถาปตยกรรมถวายเปนพระราชกุศล” พระธาตุดินแดงมีลักษณะทางสถาปตยกรรมไทย แบงเปน ๒ รูปแบบ ไดแก่

๑) รูปแบบภายนอก :

พระธาตุดินแดง มีขนาดกวาง ๕๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร ความสูงของเจดียพระประธานจากพื้น (ลานประทักษิณ) ถึงสวนยอดสุด (เม็ดน้ำคาง) ๒๕ เมตร มีเจดีย ๔ ทิศ รายรอบ ๒ ชั้น รวมทั้งหมด ๘ องค มีการใชวัสดุอิฐโบราณ เชน กอสรางบริเวณฐานเจดียฐานสี่เหลี่ยมพื้นที่ประทักษิณ ลักษณะยอเก็จในตามคติเดิม โดยรอบมีระเบียงคตมีเวฑิกาใชกั้นขอบเขตองคเจดียทรงระฆังคว่ำ สวนบนมีบัลลังค บาตรคว่ำ กานฉัตร ปลองไฉน ปลียอด และเม็ดน้ำคางยอดแหลมอยูดานบนสุด บริเวณซุมประตูทั้ง ๔ ซุม แกะสลักหินศิลาแลงภาพนูนต่ำสัญลักษณ ๑๕๐ ป เมืองมหาสารคามผสมผสานกับลวดลายประจํายาม


๒) รูปแบบภายใน :

พระธาตุดินแดงภายในซุมประตูและฝาผนังบอก เลาเรื่องราวพุทธประวัติ และสังเวชนียสถาน ๔ ดวยการแกะสลักหินทรายภาพนูนต่ำ บริเวณสวนโถงกลางทําแทนประดิษฐานสถูปสําริด (จําลอง) พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อใหพุทธศาสนิกชนสามารถเขาสักการะบูชาไดทั้ง ๔ ดาน  ในคัมภีรขุททกนิกายอปทานและคัมภีรมังคลัตถทีปนี บันทึกไววา

ผูสรางพระธาตุเจดียหรือไดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ยอมไดอานิสงสดังนี้ “เปนที่รักของภรรยาหรือสามีเปนเศรษฐีทุกชาติไป ภยันตรายใดๆ ไมแผวพาน มียศบริวารพรอมพรัก เปนที่รักของเทวดาและมนุษย ผิวพรรณผุดผองดั่งทองคํา เปนผูนําของมวลชน กุศลดลใหเกิดเปนพระราชาจักบรรลุอภิญญาทั้งหก ปดประตูนรกโลกันต ประตูสวรรคทุกชั้นเปด บังเกิดเปนจอมเทวดาสมความปรารถนาทุกประการ” 

๔. พระธาตุดินแดง ๙ ยอด

พระธาตุดินแดง มีลักษณะเปนเจดียทรง ๙ ยอด (๑ องค ๘ ทิศ) ตั้งลดหลั่นลงมาตามลําดับตามภูมิสถาปตยกรรมโบราณ กลาวตามคําแปลของบทสวดคาถาพระอรหันต ๘ ทิศ ก็จะเรียงตามลําดับดังนี้  

๑. พระพุทธเจา ทรงประทับนั่งอยูทามกลาง  

๒. พระอัญญาโกณฑัญญะ อยูทางทิศบูรพา (ตะวันออก)  

๓. พระมหากัสสปะ อยูทางทิศอาคเนย (ตะวันออกเฉียงใต)  

๔. พระสารีบุตร อยูทางทิศทักษิณ (ใต)  

๕. พระอุบาลี อยูทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต)  

๖. พระอานนท อยูทางทิศปจฉิม (ตะวันตก)  

๗. พระควัมปติ อยูทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)  

๘. พระมหาโมคคัลลานะ อยูทางทิศอุดร (เหนือ)  

๙. พระราหุล อยูทางทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)  

 

องคกลาง คือสัมพุทธเจดีย เปนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และรายรอบดวยเจดียพระอรหันต ๘ องคเปนบริวาร โดยใชปรัชญาคติที่สรางวา “พระพุทธเจาเปนศูนยกลางแหงความดี พระอรหันตเจดียเปนบริวารแหงความงาม” และ “ธุรกิจจะรุงเรืองก็เพราะไดผูบริหารมีสติปญญาที่เปนยอดคน ชีวิตจะเปยมสุขลนก็เพราะไดบริวารผูเปนยอดเยี่ยม” โดยวัตถุประสงคการกอสรางพระธาตุดินแดง ก็เพื่อเปนเครื่องระลึกถึงพุทธานุภาพและสาวกานุภาพ ผูทรงไวซึ่งความเปนเลิศในดานตางๆ อนึ่งผูใดไดกราบไหวบูชาสักการะอยูเปนประจําดวยการนอมระลึกถึงพระพุทธจริยาและอริสังฆปฏิปทาเหลานี้ จักไดรับความไพบูลยแหงความดี และจักมั่งมีความสวัสดีดวยการกราบไหว พระรัตนตรัยอยูประจํานั่นเอง 

๕. ศรัทธาที่ตั้งมั่นคือฐานสําคัญที่สําเร็จ

การสรางพระธาตุดินแดงถือวาเปนงานใหญมีนัยความสําคัญยิ่ง การดําเนินการตองอาศัยกําลังความสามัคคีแหงศรัทธาทุกภาคสวน รวมลงขันกําลังศรัทธา กําลังกาย กําลังทรัพย และกําลังปญญา งานจึงจักสําเร็จลุลวงดวยดี ซึ่งการกอสรางไดดําเนินไปตามลําดับ คือ

 

กาวที่ ๑ :

วางศิลาฤกษ คณะกรรมการไดประกอบพิธีวางศิลาฤกษเมื่อวันเสารที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปมะแม เวลา ๑๐.๐๙ น. โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.๙) เจาคณะภาค ๙ เปนประธานพิธีวางศิลาฤกษ  

 

กาวที่ ๒ :

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ เวลา ๑๑.๐๒ น. พระมหานายกพระทิพโบตุเววา ศรีสิทธัตถะ สุมังคละ มหานายกเถโร ( หรือพระสังฆราชแหงคณะมัลละวัตตะ) วัดมัลละวัตตะ นครแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ไดประทานพระบรมสารีริกธาตุ แกคณะกรรมการจัดสรางพระธาตุดินแดง ซึ่งเดินทางไปรับพระบรมสารีริกธาตุ นับเปนบุญสิริมงคลอยางสูงสุด และจะอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ พระธาตุดินแดงเมื่อการกอสรางแลวเสร็จสมบูรณ  

 

กาวที่ ๓ :

ทอดกฐินสามัคคี คณะกรรมการไดจัดทอดกฐินสามัคคีเพื่อหลอมรวมแมน้ำแหงศรัทธา ๙ สาย และนําปจจัยบริวารกฐินมาสมทบทุนสรางพระธาตุดินแดง เนื่องในวันปยมหาราช วันอาทิตยที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ตรงกับวัน แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ ปวอก เวลา ๐๙.๐๙ น.  

 

กาวที่ ๔ :

ทอดผาปาสามัคคีคณะกรรมการไดจัดทอดผาปาสามัคคีเพื่อสมทบทุนสรางพระธาตุดินแดงและเจดียพระอรหันต ๘ ทิศ เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันเสาร ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ประกา เวลา ๑๐.๑๐ น. การกอสรางพระธาตุดินแดง ๙ ยอดเพิ่งเริ่มตั้งตนกาวเดินไปสูความสําเร็จ ยังตองกาวอีกหลายกาว ยังรอสายธารบุญเพื่อรวมกันสรางสิ่งมหัศจรรยแหงศรัทธานอมถวายเปนพุทธบูชาตอไป ผูศรัทธารวมสรางพระธาตุดินแดง ยอมไดรับอานิสงสผลบุญดังนี้

 

“ไดหลอมรวมพลังไตรสามัคคี, ไดสรางพระธาตุดินแดงเปนพุทธบูชา, ไดสะสมทุนบุญจริยาแหงชีวิต, ไดทํากิจหนาที่ของชาวพุทธ, ไดสรางสิ่งบูชาสูงสุดถวายเปนพระราชกุศล, ไดเปนบันไดสูมรรคผลนิพพาน”

๖. ประโยชนของพระธาตุดินแดง

เปนสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา, เปนพุทธานุสาวรียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธไทยที่สรางขึ้นเนื่องในโอกาสการสถาปนาครบรอบ ๑๕๐ ปมหาสารคาม, เปนแหลงทองเที่ยวธรรมอันสําคัญอีกแหงหนึ่งของภาคอีสานและเปนสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา

bottom of page