top of page

หมู่กุฏิกรรมฐาน

๑. ความเปนมา

กอนสรางวัดไดตั้งคําถามวา “เมื่อญาติโยมจะสรางวัดในยุคปจจุบัน ควรจะสรางวัดอยางไรใหสมประโยชน สมสมัย สมธรรมมากที่สุด” ดวยตรรกะดังกลาว จึงปรึกษาหารือกับผูเชี่ยวชาญหลายสายงานดวยกันเพื่อหาแนวทาง สรุปลงตัวมากที่สุด กระทั่งสรุปคําตอบวา “ถาจะสรางวัดในยุคนี้ ควรออกแบบภูมิสถาปตยใหดี ตอบโจทยคนปจจุบัน เปนอารามที่เอื้อตอการเรียนรูทางกายภาพ เปนรมณียสถานยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ มีเสนาสนะกลมกลืนกับธรรมชาติ มีพื้นที่สีเขียวสงบรมเย็นรมรื่น มีความสมถะสันโดษแบบพุทธเถรวาทดั้งเดิม อาจมีเพิ่มสัปปายะบางแตไมเลอะเกินสมณวิสัย” การออกแบบกุฏิกรรมฐานวัดปาธรรมอุทยานยึดถือคติตามพุทธวิถีวา “ประหยัดใชสอยประโยชนใชสูง” โดยหวังใหพระสงฆสามเณรภายในวัด พระสงฆผูจรจาริกมาจากทิศตางๆ อุบาสกอุบาสิกาผูสนใจใครในการปฏิบัติอยูอาศัยเพียงพอตอการปฏิบัติธรรมและวัดมีศาสนาคารที่มุงบังสําหรับปองกันแดด นํา ลม ฝน สัตว เลื้อยคลาน อาคารเปนระเบียบปลอดภัย การสรางกุฏิกรรมฐานนั้นมีผลานิสงสมาก ดังปรากฏในวิหารทานกถาวา “การถวายวิหารที่อยูอาศัยแกภิกษุสงฆเปนสมุฏฐานกอใหเกิดประโยชนสุขทั้งผูรับและผูถวาย ซึ่งทรงแสดงอานิสงสไววา เปนยอดของสังฆทาน เปนปจจัยใหประสบความเกษมศานต จนบรรลุถึงพระนิพพานเปนที่สุด” 

๒. แนวคิดและขนาดลักษณะ

เมื่อคิดจะสรางกุฏิกรรมฐานใหสมสมัย จึงออกแสวงหารูปแบบตามวัดปาทั้งยุคเกายุคใหม แลวเลาแนวความคิดที่ประสงคจะทําใหสถาปนิกชวยออกแบบกุฏิกรรมฐาน เนนใหเขากับสิ่งแวดลอมของพื้นที่ วางผังแมบทของหมูกุฏิกรรมฐาน ประชาสัมพันธ แนวความคิดแกผูศรัทธา ลงมือกอสรางตามแบบแปลน จากความคิดแปลงเปนกุฏิกรรมฐานหลังเล็กๆ เพียงพอเหมาะควรตอสมณบริโภค ดูเปนระเบียบเรียบรอย สะอาดตาเจริญใจ ราคากอสรางก็พอเหมาะ เจาะจงเลือกใชวัสดุหาไดงายในทองถิ่น สวนตนไมก็พยายามรักษาตนไมเดิมและปลูกเสริมพันธุไมที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ไว

 

หมูกุฏิกรรมฐานมีลักษณะเปนอาคารชั้นเดียว ยกพื้นสูง ขนาดกวาง ๓.๙๐ เมตร ยาว ๖ เมตร ระเบียง กวาง ๓ เมตร ยาว ๓.๑๐ เมตร ชายคายื่น ๑ เมตร  ความสูงพื้นกุฏิ ๑.๕๐ เมตร หองนํากวางขนาด ๑ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร กุฏิกรรมฐานใชงบกอสรางหลังละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนหาหมื่นบาทถวน) รวมหมูกุฏิกรรมฐานในวัดปาธรรมอุทยาน มีจํานวน ๕๙ หลัง แยกเปนเขตพระสงฆ เขตสามเณร เขตอาคันตุกะ เขตธุดงค และเขตอุบาสกอุบาสิกา

๓. เจาภาพและอัตถจารีชน

คณะพุทธศาสนิกชนทั่วไป : ผูสรางถวาย

นายภานุ วัฒน จันลาวงศ : ผูออกแบบ

พระอธิการกุหลาบ อัคค จิตโต : ผูควบคุมดูแลการกอสราง

พระมหาอาย ธีรปญโญ : ผูใหแนวความคิดจัดสราง

๔. ประโยชนใชสอย 

เปนที่พักอาศัยของพระภิกษุสงฆสามเณรภายในวัด, รับรองพระมหาเถระ, รับรองการปฏิบัติธรรมของพระสงฆผูจรจาริกมาจากทิศตางๆ, ที่พักอาศัยของผูปฏิบัติธรรมสําหรับอุบาสกอุบาสิกา, เปนสถานที่ปดวาจาเก็บอารมณกรรมฐาน และเปนพื้นที่รักษาป ดั้งเดิมใหมีสภาพสมบูรณมากที่สุด

bottom of page