top of page

เสาหินอโศกมหาราช

๑. พระเจ้าอโศกกับเสาศิลาจารึก

เสาหินพระเจาอโศก เปนเสาสัญลักษณพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป สรางขึ้นโดยพระเจาอโศก ผูเปนมหาราชอินเดียโบราณแหงราชวงศโมริยะ จอมจักรพรรดิ์นักปกครองอนุทวีปอินเดีย โดยจะสรางเสาศิลาปกตั้งไว ณ ตําแหนงของสถานที่ที่เปนสังเวชนียสถาน และสถานที่ตางๆ ที่เกี่ยวของกับพระสัมมาสัมพุทธเจา สันนิษฐานวา การสรางเสาอโศกไมเพียงแตเปนการระบุถึงที่ตั้งของสถานที่สําคัญทางพระพุทธศาสนาเทานั้น ยังหมายถึงการประกาศถึงพระพุทธศาสนาที่ไดขยายขอบเขตแวนแควนไปทั่วทุกแหงหนในรัชสมัยของพระองค เปนเครื่องหมายแทนพุทธบูชาและเตือนขุนนางทั้งปวงใหปกครองราษฎรโดยธรรมอีกดวย

 

ประวัติความเป็นมาของพระเจ้าอโศกมหาราชกับการสร้างเสาศิลาจารึกมีปรากฎแผนจารึกเรื่อง “สี่สิงหทูนธรรมจักร” วัดญาณเวศกวัน อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม บันทึกไว้ว่า

"สี่สิงหทูนธรรมจักร พระเจาอโศกมหาราช กษัตริยพระองคที่ ๓ แหงราชวงศโมริยะครองราชยสมบัติ ณ นครปาฏลีบุตร ในชมพูทวีป เมื่อพ.ศ. ๒๑๘-๒๖๐ (ตําราฝายตะวันตกมักวา พ.ศ.๒๗๐-๓๑๒) ทรงเปนพระมหากษัตริยที่ยิ่งใหญที่สุดในประวัติศาสตรของชมพูทวีป ครองอาณาจักรกวางใหญที่สุดในประวัติศาสตรอินเดีย เปนองคเอกอัครศาสนูปถัมภกองคสําคัญที่สุดในประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา และเปนอัครมหาบุรุษผูหนึ่งในประวัติศาสตรโลก เมื่อครองราชยได ๘ พรรษา ทรงกรีฑาทัพไปปราบแควนกลิงคะ แมจะมีชัยชนะ แตทรงสลดพระทัยในความโหดรายของสงคราม เปนเหตุใหทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา และ ทรงดําเนินนโยบายธรรมวิชัย มุงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ปกครองแผนดินโดยธรรม สรางสรรคประโยชนสุขของประชาชน สงเสริมความเจริญรุงเรืองของประเทศในทางสันติ พระนามที่เคยเลาลือวา จันฑาโศก (อโศกผูโหดราย) ก็เปลี่ยนใหมมาเปนธรรมาโศก (อโศกผูทรงธรรม) ชาวพุทธไทยแตเดิมมามักเรียกพระองควา พระเจาศรีธรรมาโศกราช

 

พระเจาอโศกมหาราช ไดทรงสรางมหาวิหาร (วัด) ๘๔,๐๐๐ แหง เปนศูนยกลางการศึกษาที่สั่งสอนประชาชน ทรงอุปถัมภการสังคายนาที่ ๓ และการศาสนทูตไปเผยแพรพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เชน พระมหินเถระไปยังลังกาทวีป และพระโสณะ พระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เปนตน พระเจาอโศกมหาราชโปรดใหเขียนสลักศิลาจารึก (เรียกวา "ธรรมลิป" คือ ลายสือธรรม หรือธรรมโองการ) ไวในที่ตางๆ ทั่วมหาอาณาจักรเพื่อสื่อพระราชกรณียกิจตามหลักธรรมวิชัย เชน การจัดบริการสาธารณะ ไมวาจะเปนบอน้ำ ที่พักคนเดินทาง สวนปา โอสถศาลา สถานพยาบาล เพื่อคนและเพื่อสัตว ยกเลิกประเพณีเสด็จเที่ยวลาสัตวหาความสําราญเปลี่ยนมาเปนธรรมยาตรา เสด็จไปนมัสการปูชนียสถานเยี่ยมเยือนชาวชนบท ย้ำการปฏิบัติธรรมในสังคม เชน การเชื่อฟง บิดามารดา การเคารพนับถือครูอาจารย การปฏิบัติชอบตอทาสกรรมกร เปนตน ใหเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยมีความสามัคคีเอื้อเฟอกันระหวางชนตางลัทธิศาสนา และเจริญพระราชธรรม ไมตรีกับนานาประเทศ (ที่ระบุในจารึก โดยมากเปนอาณาจักรกรีกถึงอียิปต และทางใตลงมาถึงศรีลังกา สวนทางสุวรรณภูมิมีศาสนทูตมา แตไมปรากฏการติดตอกันเปนทางการ) ธรรมลิปที่โปรดใหจารึกไว ทั้งบนแผนศิลาและบนเสาศิลา เทาที่พบมี ๒๘ ฉบับ แตละฉบับมักจารึกไวหลายแหง บางฉบับขุดคนพบแลวถึง ๑๒ แหง โดยเฉพาะเสาศิลาจารึกที่สารนาถ คือที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน อันเปนที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจา ซึ่งจําลองไว ณ ที่นี้ ถือกันวาสงางาม สําคัญ และเปนที่รูจักกันมากที่สุด เมื่ออินเดียเปนเอกราชพนจากการปกครองของอังกฤษใน พ.ศ.๒๔๙๐ ไดนําเอารูปพระธรรมจักร ซึ่งทูนอยูบนหัวสิงหยอดเสาศิลาจารึกของพระเจาอโศกมหาราช ที่สารนาถมาเปนตราสัญลักษณที่กลางผืนธงชาติ และใชรูปสิงหทั้งสี่ที่ทูนพระธรรมจักรนั้นเปนตราแผนดินสืบมา สิงหทั้งสี่ หมายถึง พระราชอํานาจที่แผนไปทั่วทั้งสี่ทิศ สิงหเทินธรรมจักรสื่อความวา อํานาจรัฐนั้นถือธรรมเปนใหญ เชิดชูบูชาธรรม และหนุนการแผขยายธรรมไปทั่วทิศทั้งสี่"

๒. ความเป็นมาและแนวคิดลักษณะ

เมื่อปพุทธศักราช ๒๕๕๑ จากการที่ไดนําบรรยายสังเวชนียสถาน ๔ ประเทศอินเดียเนปาล แกคณะคุณยาเยาวเรศ บุนนาค จึงทราบเจตนารมณของคุณยาที่มีศรัทธาแรงกลาสรางเสาหินอโศก ซึ่งคุณยาสรางถวายแลว ๒ แหง และประสงคจะสรางถวายวัดปาธรรมอุทยานแหงนี้ดวย เสาหิน ๓ แหง ๓ ภาคของประเทศไทย ไดแก  

๑) เสาหินอโศกแหงที่ ๑  ตั้งอยูที่วัดเกาโบราณ เลขที่ ๓๗ สุขุมวิท ซอย ๙ ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๓๐  

๒) เสาหินอโศกแหงที่ ๒ ตั้งอยูที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี เลขที่ ๙๘๙ หมูที่ ๙ ถนนจรเขนอย ๘ ตําบลศีรษะจรเขนอย อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๕๔๐

๓) เสาหินอโศกแหงที่ ๓  ตั้งอยูที่วัดปาธรรมอุทยาน ปาโคกดินแดง เลขที่ ๑๔๙ ตําบลกําพี้ อําเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม ๔๔๑๓๐

คุณยาเยาวเรศ บุนนาค ผูกอตั้งสถาบันพลังกายทิพยเพื่อสุขภาพไดสรางเสาหินอโศกเพื่อนอมถวายเปนพุทธบูชา เสาหินอโศกที่ประดิษฐานวัดปาธรรมอุทยาน มีลักษณะเปนหินทรายเขียว นายชางสมศักดิ์ สมสุข ชาววังน้ำเขียวเปนชางแกะสลัก เสาหินมีน้ำหนักรวม ๑๗ ตัน ๖๕๐ กิโลกรัม โดยแบงเปนเสา ๑๒ ตัน ๖๕๐ กิโลกรัม, หัวสิงห ๔ ตัน, ธรรมจักร ๑ ตัน นอกจากนั้นเสาหินอโศกยังมีเสนผาศูนยกลาง ๑.๐๖ เมตร และมีขนาดความสูง ๑๐.๙ เมตร โดยแบงเปน ๓ ทอนสวน คือ  

๑) ทอนเสา สูง ๖.๑๙ เมตร    

๒) ทอนหัวสิงห สูง ๒.๔๐ เมตร และ

๓) ทอนธรรรมจักร สูง ๑.๕๐ เมตร  

 

เสาหินอโศกมหาราชนี้ไดแกะเปนรูปสลักสิงโต ๔ ตัว นั่งหันหลังชนกัน ดานบนมีธรรมจักร และถัดจากสิงโตลงมาเปนรูปสัตวมงคล ๔ ชนิด คือ ชาง วัว มา สิงโต พรอมดวยวงลอธรรมจักร ๔ วงประดิษฐานรอบฐานสิงห  เมื่อวันอังคารที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ป ระกา เวลา ๐๙.๑๐ น. คณะสงฆวัดปาธรรมอุทยานและนายชางสมศักดิ์ สมสุข ทําพิธีอัญเชิญยกเสาหินขึ้นประดิษฐานตั้งมั่นเปนหลักชัยบนผืนแผนดินตักสิลามหาสารคาม ตั้งเดนเปนสงา ณ ลานสังเวชนียสถานที่ประสูติจําลองทางเขาอุโบสถพุทธชยันตี

๓. ความหมายของเสาหินอโศก

เมื่อมองขึ้นไปจะเห็นวา บนยอดเสาหินอโศกไดแกะสลักเปนกงลอธรรมจักรหมุนวิ่งไปทางดานทิศเหนือตั้งตออยูบนสิงห ๔ ตัวซึ่งนั่งหลังชนกันอยูในลักษณะคําราม จากใตฐานสิงหจะมีวงลอ ธรรมจักร ๔ ดาน ๒๔ ซี่ เทากับจํานวนปฏิจจสมุปบาทสายเกิดและสายดับ พรอมทั้งแกะสลักเปน สัตวมงคล ๔ ตัว ไดแก “ชาง โค มา และสิงห” ซึ่งมีความหมายเกี่ยวของกับเหตุการณพระพุทธจริยา คือ “ชาง” หมายถึง การเสด็จลงสูพระครรภที่พระมารดาสุบินเห็นชางเผือก (ปญญา) “โค” หมายถึง ทรงไดปฐมฌานขณะพระบิดาทรงทําพิธีแรกนาขวัญ (ขันติ) “มา” หมายถึง การทรงมากัณฑกะเสด็จออกผนวช (วิริยะ) “สิงโต” หมายถึง ทรงบันลือธรรมจักรอันยอดเยี่ยมใหเปนไป เสมือนหนึ่งพญาราชสีหคํารามสรางความยําเกรงแกสรรพสัตวทั้งหลาย (พละ) ใตฐานสัญลักษณสัตวมงคลทั้ง ๔ เปนรูปกลีบบัวดอกไมมงคลในพระพุทธศาสนาซึ่งหมายเอาความบริสุทธิ์นั่นเอง

๔. เจาภาพและผูออกแบบ 

คุณยาเยาวเรศ บุนนาค : ผูสรางถวาย

นายชางสมศักดิ์ สมสุข : ผูแกะหิน

พระอธิการกุหลาบ อัคคจิตโต : ผูควบคุมดูแลการตั้ง

พระมหาอาย ธีรปญโญ : ผูใหแนวคิดจัดสราง

๕. ประโยชนใชสอย

เปนสังเวชนยีสถานจําลองที่ประสูติของพระสัมมาพุทธเจา, เปนลานธรรมเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรูของพุทธศาสนิกชน และเปนจุดทองเที่ยวทองธรรมสําคัญหลักของวัดปาธรรมอุทยาน

bottom of page